การตกแต่งภายใน กับองก์ความรู้: ในการการตกแต่งภายใน และการประเมินความเสี่ยง
ในขั้นตอนการงานรื้อฝ้าเพดานก่อนการตกแต่งภายใน
กรณีการรีโนเวท การตกแต่ง งานรับเหมาตกแต่งภายใน
ความรู้ในการป้องกันจากความเสี่ยงอันตราย
ในการรีโนเวทจะมีขั้นตอนของการรื้อฝ้าเพดานก่อนการตกแต่งภายใน โดยที่มีการรื้อฝ้าเพดานเดิม แล้วทำการปิดฝ้าใหม่ พร้อมทาสี มีการปลดระบบไฟฟ้า โคมไฟเดิมออกก่อนทำการรื้อถอนฝ้า
รายละเอียด
ในขั้นตอนนี้จะมีการรื้อฝ้าเพดานฉาบเรียบเดิมออกและทำการเปลี่ยนฝ้าใหม่ มีการทาสีและใช้บันไดเป็นอุปกรณ์ช่วยในทำงาน มีการติดตั้งนั่งร้านเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน
ความเสี่ยงหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นและควรตระหนัก
- อาจตกจากที่สูง / ตกจากบันได
- เศษวัสดุร่วงหล่นใส่ผู้ปฏิบัติงานและอาจมีการรื้อฝ้าไปโดนหัวสปริงเกอร์
- ไฟฟ้าดูด / ไฟฟ้าช๊อต
ผลที่ได้รับเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
- ทำให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ และบุคคลในพื้นที่ได้รับบาดเจ็บและอันตราย
- หัวสปริงเกอร์แตกทำให้พื้นที่ได้รับความเสียหาย
มาตรการในการป้องกันความเสี่ยงอันตรายและการบาดเจ็บเสียหาย
- ผู้ปฏิบัติงานของบริษัทฯ ต้องผ่านการอบรมการฝึกฝีมือแรงงานในกรณีการขึ้นบันได
- จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่า 2 คน เพื่อจับยึดบันได ในขณะที่มีผู้ปฏิบัติงานอยู่บนบันได
- มีการตรวจสอบความแข็งแรงของนั่งร้าน หรือบันไดให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงไม่ชำรุด
- ก่อนทำงานรื้อถอนให้มีการตรวจเช็คตำแหน่งสปริงเกอร์ให้ดีก่อนการปฏิบัติงาน
- ไม่หยอกล้อเล่นกันเวลาทำงาน
- สวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ที่เหมาะสมกับงาน เช่นรองเท้าเซฟตี้, เข็มขัดนิรภัยเมื่อทำงานในที่สูง,หมวกนิรภัย และการยกในท่าทางที่ถูกต้อง
การเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉิน
- การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยผู้ผ่านการอบรม การปฐมพยาบาล
ผู้ดำเนินการ
- จป. หัวหน้างาน
การตกแต่งภายใน กับองก์ความรู้: เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากอัคคีภัยจากท่อแก๊ส ภายหลังการติดตั้ง
ข้อควรระวัง: และการดูแล “อุปกรณ์ท่อแก๊ส”
ปกติ ท่อแก๊สจะต้องกักเก็บแก๊สไว้ใช้งานตลอดเวลา ดังนั้น
1. ไม่นำ เตาไฟ หรือ เครื่องทำความร้อน หรือแหล่งกำเนิดความร้อน ทุกชนิดไปวางไว้บริเวณใต้จุดเชื่อมต่อของท่อแก๊ส หรือท่อแก๊ส เพื่อป้องกันอุบัติเหตุหากแก๊สรั่ว
2. ไม่นำเชื้อเพลิง หรือวัตถุติดไฟง่ายไปวางไว้บริเวณท่อแก๊ส
3. หมั่นทดสอบรอยรั่วของแก๊ส จุดการเชื่อมรอยต่อกับท่อแก๊ส ด้วยการ สังเกตกลิ่นว่ามีการรั่วออกมาจากท่อหรือไม่ โดยเฉพาะ “จุดการเชื่อมรอยต่อกับท่อแก๊ส” (รอยต่อของท่อเชื่อม จะต้องไม่มีการรั่วซึมออกมาในระหว่างการใช้งาน)
4. มีการติดตั้ง ระบบ “เซฟตี้แก๊ส”
5. หากแก๊สรั่ว ระบบ “เซฟตี้แก๊ส” จะทำงานโดยอัตโนมัติ
6. ไม่ทำการซ่อมแซมเองโดยปราศจากความรู้
7. หากเกิดการรั่วของแก๊สที่สัมผัสได้ เช่นกลิ่น และเสียงที่ออกมาจากท่อ และ “เซฟตี้แก๊สบกพร่องไม่ทำงาน” ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
- ไม่ตกใจ
- ทำการปิดวาวล์ที่ถังแก๊ส เพื่อไม่ให้แก๊ส ไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง
- เปิดตัวดูดอากาศ หรืออยู่ในที่มีอากาศ
ถ่ายเทหมุนเวียนในห้อง
- งดการใช้งานชั่วคราว
- โทรเรียกช่างฯ และแจ้งข้อมูลช่างฯ
8. การรับประกันการรั่ว 1 ปี ไม่เสื่อมอายุการใช้งานก่อนกำหนด (ประกันคุณภาพอุปกรณ์เดินท่อแก๊ส)
9. ต้องมีอากาศถ่ายเทหมุนเวียนในห้อง
10. ปิดวาวล์ แก๊สทุกครั้งเมื่อเลิกใช้
11. ปิดวาวล์ แก๊สทุกครั้ง เมื่อมีการซ่อมแซมท่อ หรืออาคารฯบริเวณท่อแก๊สเพื่อป้องกันอุบัติ
เหตุฯ
12. การดูแลถังแก็สก็มีส่วนสำคัญ ปิดวาวล์แก๊สทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จ ควรมีโซ่ล่ามยึดหรือวางไว้ในคอกกั้นเพื่อเป็นการป้องกันจากสาเหตุต่างๆ นั่นเอง
การตกแต่งภายใน กับองก์ความรู้: ที่เกี่ยวกับการเชื่อมโลหะ และ ข้อควรระวัง
ห้าม เชื่อมหรือตัดภาชนะ (เช่นถัง กระป๋อง ฯลฯ ) ที่ใช้บรรจุวัตถุไวไฟ
ช่างหรือพนักงานที่ทำการเชื่อมโลหะ (เช่น การเชื่อมเครื่องจักร และโลหะเพื่อการติดตั้งอื่นๆ)
ต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา สวมถุงมือป้องกันไฟ โลหะกระเด็นใส่มือและแขน อุปกรณ์ป้องกันโลหะกระเด็นใส่หน้า และอุปกรณ์ป้องกันและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE
อย่า ให้เถ้าหรือประกายไฟจากการเชื่อมสัมผัสวัสดุติดไฟ เช่น ก๊าซหรือของเหลวติดไฟได้ ต้องระวังในการตัด หรือเชื่อมโลหะในบริเวณที่อยู่เหนือศีรษะ เพราะสะเก็ดของการเชื่อมหรือประกายไฟ อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยหรือเป็นอันตรายต่อพนักงาน
การเชื่อมด้วยไฟฟ้า
-ช่างหรือพนักงานที่ทำการเชื่อมโลหะ เชื่อมเครื่องจักร หรือโลหะจากการทำงานอื่นๆ ต้องตรวจสอบสายเชื่อม สายดิน และสายต่อ ก่อนทำงานหากพบว่าฉนวนหุ้มชำรุดเสียหายต้องเปลี่ยนทันที
-ควรต่อสายดินให้ใกล้กับชิ้นงาน เพื่อป้องกันกระแสตกค้าง
-ไม่ม้วนสายไฟเพื่อป้องกันการสะสมความร้อน
-เครื่องเชื่อมชนิดที่เคลื่อนที่ได้ต้องต่อสายดิน
-ขณะทำการเชื่อมควรอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศ
การตกแต่งภายใน กับองก์ความรู้: กรณีพนักงานได้รับอุบัติเหตุจากสารเคมีกระเด็นเข้าตา
แผนฉุกเฉิน : กรณีพนักงานได้รับอุบัติเหตุจากสารเคมีกระเด็นเข้าตา
การปฏิบัติตัวเมื่อสารเคมีกระเด็นเข้าตา มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้
ถ้าใส่คอนแท็กเลนส์ให้รีบถอดคอนแท็กเลนส์ออก แล้วรีบล้างตา โดยใช้กระบอกน้ำล้างตาฉุกเฉินในจุดที่จัดไว้ให้โดยทันที (ภายใน 3 นาที)
จากนั้นรีบล้างตาด้วยน้ำเกลือหรือล้างตาด้วยน้ำยาล้างตาอีกครั้งเป็นเวลาประมาณ 10-15 นาที
หลังจากล้างตาแล้ว หากอาการเคืองตายังไม่ดีขึ้น ควรได้รับการตรวจรักษาโดยจักษุแพทย์
ห้ามถูหรือขยี้ตาโดยเด็ดขาด
ล้างแว่นตา/คอนแท็กเลนส์ด้วยน้ำ และสบู่ให้สะอาดก่อนใส่อีกครั้งหนึ่ง
การตกแต่งภายใน กับองก์ความรู้: เกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
คำแนะนำวิธีการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า :
ในการทำงานติดตั้งนั้น จะรวมไปถึงระบบของการติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบการสื่อสารต่างๆ หรือแม้กระทั่งการติดตั้งพื้นผนังก็ตาม ก็ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการทำงานอยู่ดี ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องดูแลเอาใจใส่อุปกรณ์ต่างๆให้มีความปลอดภัยและพร้อมใช้อยู่เสมอ
-มอเตอร์เตอร์เครื่องยนต์จะต้องไม่มีน้ำมันรั่วไหลทั้งสายพาน เพลาขับเครื่อน จะต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้
- ถังเก็บน้ำมันจะต้องไม่รั่วซึม หรือ มีสภาพการยุบของถัง
-สวิตซ์เปิด-ปิด ใช้งานได้อย่างถูกต้อง ไม่ชำรุด
-สายลมไม่ชำรุดฉีกขาด ไม่มีรอยต่อของสายไฟ
-จุดต่อสายไฟเข้าตัวเครื่องเป็นไปตามมาตรฐานสภาพตัวเครื่องแข็งแรงมั่นคง
-โบลท์ น็อต ขันยึดแน่น
การควบคุมขยะอันตรายของช่าง
1. เพื่อให้มีการควบคุมขยะอันตรายของช่าง
2. เพื่อลดอันตรายและเหตุร้ายแรงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากขยะอันตราย
ขอบข่าย
สารเคมีทุกชนิดที่ใช้ในกระบวนการติดตั้งทุกกระบวนการ (โดยปกติวัตถุดิบไวไฟชนิดสารเคมีของ SMA จะเป็นเพียงกระป๋องสี กระป๋องทินเนอร์เล็กๆ)
คำจำกัดความ
- MSDS หมายถึง การเลือกสารเคมีโดยพิจารณาคุณสมบัติสารเคมีต้องเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ตรวจเช็ค รับ-จ่าย ทำ Stock สารเคมี ส่งคืนเปลี่ยนสินค้าใหม่กับผู้ขาย
- สารเคมีอันตราย (รวมถึงสารเคมีที่อยู่ในภาชนะที่ใช้หมดแล้ว) หมายถึง สารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยจากการจัดเก็บหรือทำลายอย่างผิดวิธี สารเคมีที่อาจเกิดอันตรายจากการสูดดมและหลอดลม สารเคมีอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผิวหนัง สารเคมีที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ต่อดิน ต่อแหล่งน้ำ ต่อมนุษย์โดยตรง และต่อระบบนิเวศวิทยา เป็นต้น
- การหกรั่วไหลของสารเคมี หมายถึง การหกรั่วไหลจำนวนมาก และการหกรั่วไหลจำนวนน้อย จำเป็นต้องกำหนดวิธีในการกำจัด
1. รายละเอียดการปฏิบัติงาน
1.1 จัดซื้อขอ MSDS จากผู้ขายในทุกๆสารเคมี เช่น น้ำมัน ทินเนอร์ สี เป็นต้น
1.2 สถานที่จัดเก็บสารเคมีอันตราย จะมีการป้องกันโดยใช้ถาดรองสารเคมีเพื่อไม่ให้มีการไหลลงสู่ที่ต่ำ หรือไหลลงท่อน้ำ
1.3 เมื่อมีการหกรั่วไหลของสารเคมี ชนิดจำนวนน้อย (โดยปกติวัตถุดิบไวไฟชนิดสารเคมีของ SMA จะเป็นเพียงกระป๋องสี กระป๋องทินเนอร์เล็กๆ) การป้องกัน ใช้ทรายละเอียดล้อมและซับสารเคมี ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด แล้วนำไปทิ้งยังสถานที่ทิ้งที่จัดไว้โดยเฉพาะ
1.4 เมื่อช่างดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วจะขนย้ายกระป๋อง หรือถังน้ำมัน ทินเนอร์ สี ออกจากพื้นที่เพื่อนำเอาไป Re-use
1.5 เมื่อช่างดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ดำเนินการทิ้งขยะให้ตรงกับประเภทต่างๆของขยะ
บันทึกคุณภาพ
- ทะเบียนรายชื่อสารเคมี
- ทะเบียน MSDS
- รายงานการวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุของสารเคมีหกรั่วไหลและการป้องกัน